วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เปิดบ้าน FANPAGE หลังใหม่ สาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย


กราบเรียนสมาชิก เพื่อนๆทุกท่าน

เปิดบ้าน FANPAGE หลังใหม่ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
สาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย
สามารถติดตามไปได้ที่ Facebook ที่นี่ครับ 
https://www.facebook.com/pages/สาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย/216848761792023 
เภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
 
#utai #เภสัชกรอุทัย #สาระสุขภาพโดยเภสัชกรอุทัย

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

"อาหารของผู้ป่วยหลังผ่าตัด" จัดอย่างไรให้ฟื้นได้เร็ว?


สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้วไม่ว่าจะผ่าตัดเล็ก เช่น ไส้ติ่ง หรือผ่าตัดใหญ่ เช่น นิ่ว หรือเนื้องอก อาหารมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวกลับสู่สภาพที่แข็งแรง เช่นเดิม เรามาฟังคำแนะนำในด้านโภชนาการ ที่มาให้สารอาหารครบหมุ่แล้วที่ช่วยให้ฟื้นไข้หายได้เร็ว พร้อมกลับไปหาครอบครัวอย่างมีความสุข หรือกลับไปทำงานได้อย่างแข็งแรงอีกครั้งหนึ่ง

สภาวะผู้ป่วยหลังผ่าตัด ทำไมต้องดูแลเรื่องอาหาร?
        ผู้ป่วยหลังจากผ่าตัด เมื่อออกจากห้องผ่าจัดมักจะมีอาการอ่อนเพลีย ซึ่งเกิดจากการเสียเลือด ของเหลวในร่างกาย และฤทธิ์ของยาชา ยาสลบ ที่ให้ระหว่างการผ่าตัด จึงมักจะอยู่ในอาการอ่อนเพลีย หลับๆ ตื่นๆ แพทย์มักจะให้ผู้ป่วยได้นอนพักผ่อนอย่างเต็มที่ ในช่วงนี้แพทย์จะสั่งงดอาหารทางปาก เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวดีขึ้น อวัยวะในระบบทางเดินอาหารเริ่มทำงาน ซึ่งมักจะเป็นเวลาหลังจากการผ่าตัด 24 ชั่วโมง จากนั้นแพทย์จะอนุญาตให้รับประทานอาหารทางปากได้ ซึ่งอาหารที่จัดให้แก่ผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่เกี่ยวกับอวัยวะในช่องท้อง ระยะแรกจะเป็นอาหารน้ำ มีลักษณะเหลว ใส เรียกกันว่า อาหารน้ำใส

ทำไมต้องอาหารน้ำใส?
อาหารน้ำใส สามารถกลืนได้ง่ายโดยไม่ต้องเคี้ยว เพราะไม่มีส่วนที่เป็นกาก เช่น น้ำขาวใสๆ น้ำหวาน น้ำผลไม้ที่กรองเอาเนื้อออก น้ำขิง น้ำซุปใสๆ ซึ่งอาจจะทำมาจากน้ำต้มผัก หรือน้ำต้มไก่ เป็นต้น การที่แพทย์สั่งอาหารชนิดนี้ให้แก่ผู้ป่วย เพราะต้องการให้อวัยวะในระบบขับถ่ายทำงานน้อยที่สุด มิให้กระทบกระเทือนแผลที่ผ่าตัด แต่อาหารชนิดนี้ให้พลังงานและสารอาหารน้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงควรให้ผู้ป่วยรับประทานบ่อยๆ เท่าที่จะทำได้ แพทย์จะกำหนดให้รับประทานอาหารชนิดนี้ในระยะเวลาสั้นๆ 1-2 มื้อ ถ้าผู้ป่วยรับได้ดีก็จะเปลี่ยนเป็นอาหาร ที่ให้พลังงานและสารอาหารสูงขึ้นที่เรียกกันว่า อาหารน้ำข้น

อาหารน้ำข้นคืออะไร?
ลักษณะของอาหารยังคงเป็นของเหลว เช่นเดียวกับอาหารน้ำใส แต่ข้นขึ้น น้ำซุปมีการนำเนื้อสัตว์หรือผักผสมลงไป เช่น ซุปไก่ ซุปมันฝรั่ง ซุปฟักทอง เป็นต้น เครื่องดื่มก็มีการเติมนม ครีม หรือน้ำผลไม้ที่มีเนื้อผลไม้ผสมอยู่บ้าง เช่น น้ำสับปะรด น้ำส้มไม่ต้องกรอง น้ำนม เป็นต้น

        การให้ผู้ป่วยได้รับอาหารทั้งน้ำใสและน้ำข้นนั้น แพทย์จะให้ในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น เช่น อาจให้อาหารน้ำใส 2-3 มื้อ แล้วเปลี่ยนเป็นอาหารน้ำข้น 2-3 มื้อ ทั้งนี้เพื่อเป็นการทดสอบการทำงานของอวัยวะ ว่าเป็นปกติหรือไม่ เพราะผู้ป่วยบางคนจะมีอาการแพ้ยาสลบ หรือมีปัญหาการย่อยอาหารอยู่ จึงเท่ากับว่าระยะที่ให้อาหารทั้งน้ำใสและน้ำข้นเป็นระยะการปรับตัวในการทำ งานของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะอวัยวะทางเดินอาหาร

อาหารอ่อน เริ่มฟื้นสู่ภาวะปกติ
        เมื่อผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารน้ำใสและน้ำข้นได้แล้ว แพทย์มักจะเปลี่ยนอาหารให้ต่อไปอีก ในชั้นนี้จะเป็นอาหารที่เรียกว่า อาหารอ่อน อาหาร ชนิดนี้เป็นอาหารที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เปื่อย มีกากน้อย ย่อยง่าย รสชาติอ่อนๆ ส่วนอาหารหมักดอง อาหารมีรสจัด เหนียว มักจะงด ข้าวต้มเครื่องที่มีเนื้อสัตว์ที่บดแล้วผสมอยู่ เช่น ข้ามต้มหมู ข้ามต้มปลา หรือโจ๊ก จึงเหมาะอย่างมากที่จะจัดให้แก่ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารอ่อน ข้าวต้มกับ มักจะมีปัญหาเรื่องกับที่รับประทานกับข้าวต้ม เพราะคนไทยมักจะคุ้นกับการรับประทานข้าวต้มกับของดอง เช่น ขิงดอง เกี้ยมฉ่าย ซีเซ็กฉ่าย ซึ่งเป็นของต้องห้ามสำหรับอาหารอ่อน เพราะฉะนั้นกับข้าวของข้าวต้ม จึงต้องเลือกเฉพาะกับข้าวที่นุ่ม เปื่อยเท่านั้น เช่น ปลานึ่ง ไข่เจียวนิ่มๆ หมูอบเปื่อยๆ ต้มจับฉ่ายที่ต้มผักจนนุ่มและเปื่อย เป็นต้น ผู้ป่วยบางคนเบื่อข้าวต้ม ก็สามารถเปลี่ยนเป็นก๋วยเตี๋ยวหรือมักกะโรนีได้ โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยวน้ำ หรือมักกะโรนีน้ำ แต่ยังไม่ควรใส่ผัก เพราะจะทำให้ย่อยยาก

ไม่มีคำว่าอาหารแสลงสำหรับผู้ป่วย
        เนื้อสัตว์ทุกชนิดสามารถนำมาทำเป็นอาหารของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัด เพียงแต่ต้องทำให้นุ่ม เปื่อยเท่านั้น ปลาเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย ไม่เหนียว นำมาทำอาหารให้ผู้ป่วยได้ดี แต่ต้องระวังก้างและเกล็ด ส่วนผัก ให้เลือกผักที่ก้านไม่แข็ง ควรเลือกผักใบและเคี่ยวให้นุ่ม เปื่อย ผลไม้ ควรเป็นผลไม้ที่นุ่ม ไม่มีเปลือกแข็งหรือมีใยมาก เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก มะม่วงสุก เป็นต้น ของหวาน ควรเป็นขนมหวานที่รสไม่จัด มีลักษณะนุ่ม เช่น สังขยา ไอศกรีม เยลลี่ คัสตาร์ด สาคูเปียก เป็นต้น เครื่องดื่มประเภทน้ำนม นมถั่วเหลืองหรือน้ำผลไม้ เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสมและให้คุณค่าอาหารที่ดีที่สุด

 แต่!!  ควรหลีกเลี่ยง ชา กาแฟ แต่ถ้าจำเป็นต้องดื่มก็ควรเลือกชนิดที่ไม่คาเฟอีน ส่วนเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ควรงดเว้น

วิตามินและอาหารเสริมหล่ะ จำเป็นมั้ย?
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมีการสูญเสียเลือด วิตามิน และเกลือแร่ ซึ่งร่างกายจำเป็นจะต้องได้รับการชดเชย ในระยะเวลาอันสั้นเพื่อช่วยให้ร่างกายกลับเข้าสู่สภาวะปกติและแผลหายเร็วที่สุด อาหารที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ นม ผลิตภัณฑ์จากนมและไข่ที่ให้โปรทีนและแร่ธาตุที่จำเป็นครบถ้วน ผลไม้ทีมีวิตามินซีและบีรวมครบหมู่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ที่ควรจัดหาแก่ผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด

แต่ถ้าหากในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย อาหารเสริมอาจจะต้องนำมาพิจารณาเลือกใช้ แต่ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเข้าใจผิด และได้ประโยชน์คุ้มค่าเงินที่เสียไป ซึ่งจะนำมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไปครับ


แหล่งข้อมูล

What to Eat During Your Recovery After Surgery
By Jennifer Heisler, RN, About.com Guide

The Best Foods After Surgery

"อาหารของผู้ป่วยหลังผ่าตัด"

รูปประกอบ




วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

น้ำมันปลา omega-3 กินไปทำไม ได้ผลอะไรบ้าง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


มาถึงตอนต่อของน้ำมันปลา ถึงตอนสำมะคัญที่คุณๆอยากรู้แล้วใช่ไหม ว่าเจ้าเม็ดเล็กๆในมือคุณ ถ้ารับประทานเข้าไปแล้ว มันจะช่วยอะไรเราได้บ้าง? จะโม้มากมายเหมือนโฆษณา หรือจะจริงแท้พิสูจน์ได้ ขอเชิญมาฟังเภสัชกรให้คำตอบกัน

น้ำมันปลาสำคัญอย่างไรต่อร่างกายเรา

ทารกและสตรีมีครรภ์

ในด้านพัฒนาการของร่างกาย มีรายงานว่าพบกรดไขมัน DHA สะสมอยู่มากที่บริเวณสมองและเรตินาของดวงตา และยังพบว่าในน้ำนมมารดาก็มี DHA สูงเช่นกัน จึงเชื่อว่า DHA จะมีผลต่อการพัฒนาของสมองและการมองเห็นของทารก แต่ทารกไม่สามารถสังเคราะห์ DHA ได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยจากน้ำนมแม่ โดย FAO และ WHO ระบุว่า ทารกแรกเกิดควรได้รับ DHA ไม่ต่ำกว่าวันละ 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม จากการศึกษายังพบว่า เด็กที่คลอดก่อนกำหนด เมื่อได้รับนมเสริม DHA จะสามารถมองเห็นได้ชัดเร็วกว่าเด็กที่ไม่ได้รับอีกด้วย มารดาและหญิงที่ให้นมบุตรจึงควรบริโภค DHA อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ DHA ที่ได้รับ ส่งต่อไปยังลูกโดยผ่านทางรกและน้ำนม

เด็กวัยเรียนรู้

DHA เป็นส่วนหนึ่งของเซลล์สมองและเซลล์ประสาทซึ่งมีผลต่อสติปัญญา หากร่างกายขาด DHA จะทำให้เซลล์สมองและเซลล์ประสาทขาดประสิทธิภาพไปด้วย เด็กในวัยนี้จึงควรได้รับ DHA ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของสมอง

ผู้ใหญ่

·         ในคนไข้ที่เริ่มมีปัญหาการสะสมของไขมันในเลือด การได้รับน้ำมันปลาจะไปลดระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) ที่จัดว่าเป็นไขมันชนิดร้าย และเพิ่มระดับของ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL Cholesterol) ซึ่งเป็นไขมันที่ดี ทำให้คนไข้ลดปัญหาเกี่ยวกับไขมันอยู่ในระดับสูงเกินไปจนพัฒนาไปเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในที่สุด

·         ส่วนคุณๆที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้ว EPA จะเป็นสารตั้งต้นในการ สร้าง eicosanoids โดยเฉพาะอย่างยิ่ง series-3 prostaglandins และ series-5 leucotriene (LTB-5) ซึ่งสารหลาย ๆ ตัวในกลุ่มดังกล่าวจะช่วยลดการจับตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ช้าลง ทำให้เลือดไม่เกาะตัวเป็นลิ่ม เลือดจึงไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดความหนืดของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น จึงช่วยลดความเสี่ยงของอันตรายจากโรคหัวใจและ หลอดเลือด 

·         EPA ลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ได้แก่ series-4 leucotriene (LTB-4) ส่งผลให้บรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมของโรคปวดข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) แผลอักเสบที่ลำไส้ รวมทั้งสามารถลดอาการอักเสบของเนื้อเยื่อได้อีกด้วย

·         EPA จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ การสังเคราะห์ prostaglandin และลดการหลั่ง serotonin ของเกร็ดเลือด ทำให้การรวมกลุ่มของเกร็ดเลือดลดลง ในระยะที่มีการบีบตัวของหลอดเลือดในสมอง ดังนั้นการให้ EPA จะสามารถลดอาการของไมเกรนลงได้เช่นกัน

·         ผลจากการลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ จึงลดการอักเสบของโรคผิวหนัง ในคนไข้ที่เป็นโรคเรื้อนกวาง (Psoriasis)

·         นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า DHA อาจจะช่วยแก้โรคความจำเสื่อมชนิด Alzeimer's disease ได้และยังจะลดอาการซึมเศร้าในคนชราที่มี cholesterol ต่ำด้วย

ที่เล่ามาทั้งหมดนี้เป็นความจริงจากการทดลองเท่านั้น ดังนั้นไม่ใช่ว่าอยู่เฉยๆแล้ว คุณไปซื้อน้ำมันปลามากิน แล้วจะเป็นสารอาหารวิเศษที่ช่วยบำบัดอาการต่างๆที่คุณอาจมีปัญหาอยู่ได้ การดูแลสุขภาพกายและใจอย่างสม่ำเสมอรวมทั้งหากคุณมีอาการโรคต่างๆอยู่ การไปพบผู้ชำนาญทางการบำบัดจึงจะให้การรักษาได้ดีที่สุด น้ำมันปลาเป็นเพียงอาหารเสริมที่จะช่วยได้เท่านั้น และในตอนต่อไป คุณได้อ่านข้อดีเยอะแยะไปหมดแล้ว แล้วข้อควรระวังของน้ำมันปลาหล่ะ มีอะไรบ้างตามตอนต่อไปนะครับ

หากคุณๆอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารเสริมและวิตามินต่างๆ สามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้จากเภสัชกรใจดีที่ร้านยาหรือที่โรงพยาบาลได้เลยครับ พวกเราเภสัชกรยินดีและเต็มใจรับใช้พี่น้องครับ


แหล่งข้อมูล

•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 21 พย. 2555

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียน และจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและCopy url address ไปด้วย เพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้นำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

·         Robert Oh, Practical Applications of Fish Oil (-3 Fatty Acids) in Primary Care, Department of Family Medicine, MCHJ-FP, Madigan Army Medical Center, Ft. Lewis, Washington, www.jabfm.org
·         Fats, Fish Oil and Omega-3-Fatty Acids, www.medicinenet.com
·         วาทิต ศาสตระวาทิต งานวิจัยเภสัชอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ “น้ำมันปลา” องค์การเภสัชกรรม, www.gpo.or.th/rdi
·         วินัย ดะห์ลัน กรดไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า-3 บทบาทใหม่ในทางการแพทย์และอุตสาหกรรม รายงานประจำปี 2538 - 2539 สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย
·         สมพงษ์ สหพงศ์ น้ำมันปลา น้ำมันลดไขมัน, พิมพ์ครั้งที่ 4, สำนักพิมพ์รวมทรรศน์, กรุงเทพฯ กรกฎาคม 2538
·         เสก อักษรานุเคราะห์. มาบริโภคน้ำมันปลากันเถอะ, http://geocities.com/Tokyo/Harbor/2093
·         น้ำมันปลา, www.bangkokhealth.com
·     น้ำมันปลา จับปลาทะเลมาปั้นเป็นเม็ด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

·     น้ำมันปลา omega-3 กินไปทำไม โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

·     น้ำมันปลา omega-3 ความเชื่อกับความจริง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
รูปประกอบ
Experts highlight benefits of fish oil for RA patients

Fish Oil For Kids